All About My Little One

  • Home
  • Blog
    • Natural Birth
    • Birth in Thailand
    • Health and Safety
  • Dealing with GOV
    • NON-O Visa
    • Marriage Certificate in Thailand
    • Thai Driver License
    • Banking
    • Australian Citizen and Passport in Thailand
  • Homeschool
    • Group activities
  • Family Trip
    • Tips: On the plane
    • Hua Hin
    • Bangkok
    • Road trip Brissy to Sydney
    • Cambodia
  • Cooking Recipes for Family
  • instagram

Blog

Home Archive by category "Health and Safety"

คุณหมอสมบัติ คุณหมอเด็กที่โรงพยาบาลมิชชั่น

By Nadia | Health and Safety | 0 comment | 15 May, 2017 | 0

  ท่านเป็นคุณหมอประจำครอบครัวเราค่ะ หนึ่งรักษากับคุณหมอตั้งแต่เด็กๆ ไปหาท่านบ่อยเพราะเป็นภูมิแพ้ คุณหมอเป็นแพทย์ที่ข้อมูลจัดเต็ม คือ ซักถามอาการพร้อมอธิบายได้ละเอียดยิบๆ เหมือนกับนั่งฟัง Lecture พร้อมทั้งภาพประกอบและ textbook เขียนโน้ตให้คุณพ่อคุณแม่กลับไปอ่านอีกต่างหาก คุณหมอจะอธิบายละเอียด ไม่รีบคุยกับคนไข้ และ follow up ทางโทรศัพท์ตลอด เป็นแบบนี้ตั้งแต่หนึ่งเด็กๆแล้วค่ะ จนตอนนี้ท่านก็ยังทำอยู่ ที่ชอบมากก็คือ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่ชอบให้ยาลูกถ้าไม่จำเป็น หนึ่งขอแนะนำค่ะ ไม่ให้ยาเด็กถ้าไม่จำเป็น สำหรับวัคซีนท่านก็จะแนะนำตัวไหนจำเป็นตัวไหนเป็นทางเลือก ถ้าไม่ฉีดป้องกันอย่างไรได้บ้าง แต่ถ้าเป็นโรคเฉพาะทางอันนี้เราไม่ทราบจริงๆค่ะว่าท่านสันทัดด้านไหนเกี่ยวกับโรคเด็ก เพราะพวกเราไปหาจะเป็นโรคธรรมดา หรือไปนัดฉีดวัคซีนปกติค่ะ ยังไงถ้าครอบครัวไหนอยากเปลี่ยนหมอหรือหาหมอเด็กก็ลองสอบถามทาง รพ มิชชั่น ดูนะคะ คุณหมอหยุดวันอาทิตย์ค่ะ เช็คกับทางโรงพยาบาลก่อนก็ได้ค่ะ

เด็กทารกกับเตียง

By Nadia | Health and Safety | 0 comment | 15 May, 2017 | 0

ความสูงขนาดไหนที่ลูกตกจะเป็นอันตราย คือ ความสูง 2 เท่าของตัวเด็ก ในกรณีเด็กตกสิ่งที่ต้องทำ คือ ดูว่ามีแผลเลือดออกไหม จมูก ปาก ช็อค อาเจียน ริมฝีปากม่วง ถ้ามีไป รพ ทันที 2. เช็คม่านตาเด็ก ตอบสนองดีไหม ถ้าตอบสนองดีก็ยังไม่เป็นปัญหา 3. เวลาผ่านไปดูว่าเด็กเล่นได้ปกติไหม ทานอาหารได้ปกติไหม มีเลือดออกไหม เช็คม่านตาอีกรอบ เพื่อความชัวร์ ทำแบบนี้ 2 วันหลังจากเด็กตก 4. อย่าให้ลูกหลับดูอาการเขาซักชั่วโมง ชวนเขาเล่น แต่ถ้ามันเป็นเวลานอนต้องคอยปลุกเช็คเรื่อยๆ เช็คม่านตา กับรีมฝีปาก 4. ภายใน 48 ชั่วโมง หรือ 2 วัน ถ้าเด็กทำทุกอย่างได้ปกติไม่มีเลือดออก ไม่มีอะไรผิดปกติ ก็ถือว่าปลอดภัยแล้วค่ะ ข้อมูลนี้อ้างอิงจากแพทย์ที่พาน้องแคลร์ไปเจอที่ รพ ตอนนางตกเก้าอี้ แพทย์บอกว่า ถ้ามีเลือดออกในสมองหรือกะโหลกร้าวมันจะแสดงอาการภายใน 48 ชั่วโมง แต่ถ้าเด็กตอบสนอง กินได้ เล่นได้

การตรวจปากมดลูก (Cervix)

By Nadia | Health and Safety | 0 comment | 15 May, 2017 | 0

เกริ่นตอนที่แล้วว่าจะมาเขียนเรื่องนี้ เข้าเรื่องกันเลยค่ะ ทำไมต้องตรวจปากมดลูก 1. คุณแม่จะต้องทำ Pap smear การตรวจนี้สำหรับผู้หญิงที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์จะต้องตรวจทุกๆ 3 -5 ปี ที่ออสเตรเลียกำหนดให้ตรวจทุกๆ 2 ปี เพื่อตรวจหามะเร็งค่ะ เพราะฉนั้นท้องไม่ท้องถ้าผ่านการมีเพศสัมพันธ์ แนะนำให้ตรวจนะคะ การ ตรวจนี้ คุณหมอจะใช้อุปกรณ์ Vaginal Speculum บางที่ใช้เป็นเหล็ก บางที่ก็พลาสติกแล้วทิ้งเลย ซึ่งสำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ คุณหมอจะใช้ขนาดเล็กสุดค่ะเพราะไม่ต้องการให้กระทบกระเทือนมาก อย่างแรก คุณหมอจะให้คุณแม่กำมือ 2 ข้าง และวางไปข้างหลังช่วงกระดูกก้นกบ เพื่อให้หมอตรวจได้ง่ายและให้คุณแม่ไม่เจ็บมาก (คิดเอาเอง) หลังจากนั้นคุณหมอก็จะใช้อุปกรณ์นี้สอดเข้าไปข้างใน และใช้แท่งเหมือน cotton bud ปาดไปบริเวณปากมดลูก ใช้เวลาสั้นมากค่ะ ไม่ถึงนาทีก็เสร็จ คุณแม่จะรู้สึกระคายเคืองแค่ตอนแรกเท่านั้น 2. ตรวจเพื่อเช็คความหนาของปากมดลูก สำหรับคุณแม่ท้องแรก Midwife บอกค่ะว่าปากมดลูกยังหนา เขาบอกว่าให้ลองเอามือจับที่ปลายจมูก และปากดูนั่นคือความแตกต่าง ช่วงที่คุณแม่ใกล้คลอด แพทย์จะตรวจปากมดลูกว่ามีความหนามากไหม และเปิดบ้างรึยัง ซึ่งจากที่หนึ่งโดนมา 555 คือ วันนั้นเป็นวันที่

24 ชั่วโมงแรก กับน้องแคลร์

By Nadia | Health and Safety | 0 comment | 15 May, 2017 | 0

  น้องแคลร์ออกมาด้วยน้ำหนัก 3.79 kg ตัวเล็กมากกกกกกกก 555 คุณแม่หนึ่งตกใจกันเลยทีเดียว ที่ ออสเตรเลียพอเด็กออกมาแล้วก็จะให้อยู่กับแม่เลย เขาจะให้ลูกอยู่บนตัวของแม่ตั้งแต่นาทีแรกที่เกิดเลยค่ะไม่ให้ห่างไปไหนเป็น เวลา 1 ชั่วโมง ช่วงเวลานั้น น้องก็จะนอนกับอกของแม่ ดูดนมแม่ ทำความรู้จักกับแม่ หลังจากนั้นเขาถึงจะพาไปชั่งน้ำหนัก วัดตัว และใส่เสื้อผ้าให้ หลายคนสงสัย แล้วไม่อาบน้ำหรอ หนึ่งก็งงเหมือนกันค่ะเพราะแม่หนึ่งบอกว่า ที่เมื่องไทยเขาอาบให้นะทำไมที่นี่ไม่อาบอะ Midwife อธิบายว่า 24 ชั่วโมงแรกของเด็ก เราจะไม่อาบน้ำให้เด็กเลยเพราะสิ่งที่ติดมาจากตัวเด็กเป็นภูมิคุ้มกันที่ดี การที่เด็กเกิดมาแบบธรรมชาติผ่านช่องคลอดของแม่ทำให้เด็กได้รับภูมิคุ้มกัน เพราะช่องคลอดจะมีเชื้อโรคที่เป็นประโยชน์ต่อเด็ก ไม่มีความจำเป็นจะต้องทำอะไรกับตัวเด็กเลย ว่าง่ายๆคือ สิ่งที่มาจากธรรมชาติดีที่สุด น้องแคลร์เกิดตอน 4 ทุ่ม หนึ่งต้องไปเข้าห้องผ่าตัดกว่าจะเสร็จก็ตี 4 แล้วค่ะ และเนื่องจากหนึ่งมีไข้ และไม่ยอมลด ทางโรงพยาบาลกลัวว่าเด็กจะได้รับไข้จากแม่ เลยพาน้องแคลร์ไปให้ Antibiotics (ไอ้เจ้ายาตัวนี้หนึ่งไม่ชอบอย่างมาก) น้องแคลร์กลับมาจาก nursery แบบมีเข็มเจาะอยู่ที่มือ คาไว้แบบนั้นตลอดเพราะเขาต้องให้ยาเด็ก 4 ถุง เหมือนให้น้ำเกลือค่ะ เราเห็นก็เศร้าอยากจะร้องไห้สงสารลูก ตอนเช้า

เจ็บแต่ไม่จบ หรือ Braxton Hicks contractions

By Nadia | Health and Safety | 0 comment | 15 May, 2017 | 0

เจ็บหลอก หรือ Braxton Hicks contractions มีคุณแม่ท่านนึง Request มาขอให้เขียนเรื่องนี้ ด้วยความที่ไม่ค่อยเห่ออยากเขียนให้คุณแม่ๆอ่าน พอส่งตัวน้อยเข้านอนปุ๊บก็มาเขียนให้เลยค่ะ ต้องออกตัวก่อนว่า หนึ่งจำไม่ค่อยได้แล้วนะคะ แต่พอได้พอไปหาข้อมูลมาบ้าง ทิ้งลิงค์ไว้ให้ด้วยเผื่อต้องการอ่านกันค่ะ การเจ็บหลอก หรือฝรั่งเขาเรียกว่า Braxton Hicks ความเป็นมาของชื่อไม่ขอเล่านะคะ เรามาอ่านเนื้อๆกันเลยดีกว่า คุณแม่หลายท่านสงสัยว่า เจ็บจริง เจ็บหลอกต่างกันยังไง และทำไมต้องมีเจ็บหลอก ร่าง กายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ค่ะ การเจ็บหลอก หรืออีกชื่อคือ Practice labor ตามชื่อเลยค่ะ เพื่อให้เราได้ฝึก ได้เตรียมตัวว่าความรู้สึกของการปวดจะเป็นอย่างไร และจะต้องรับมือกับมันอย่างไร คุณแม่บางท่านอาจไม่เคยรู้สึกปวดเลย พอปวดอีกทีก็คลอดจริงเลย คุณแม่บางท่านอาจปวดบ่อย ซึ่งของตัวหนึ่งเอง ช่วงใกล้คลอดปวดบ่อยค่ะ ปวดเกือบทุกวัน ปวดทีก็ลุ้นกับครอบครัวที Practice Labor (ขอใช้ชื่อนี้นะคะ ดูน่ากลัวน้อยหน่อย) สังเกตได้ ดังนี้ค่ะ 1. คุณแม่จะมีอาการปวดเหมือนปวดประจำเดือนค่ะ เนื่องจากช่วงท้องน้อยเกิดการบีบตัว และร่างกายมีการหลั่งสาร Oxytocins ออกมา เป็นฮอร์โมนชนิดนึงที่ช่วยกระตุ้นการคลอดค่ะ แต่สารนี้จะไม่มีมากจนทำให้เกิดการคลอดจริงได้

สารพันปัญหาลูกป่วย (ตามประสบการณ์คุณแม่)

By Nadia | Health and Safety | 0 comment | 15 May, 2017 | 0

  สวัสดีค่าาา บทความนี้จะเล่าถึงประสบการณ์ส่วนตัวจากตัวหนึ่งเองนะคะ เวลาลูกป่วยทำยังไง หาหมอเลยไหม ยาให้เองได้ไหม หนึ่งไม่ใช่คุณหมอ เพราะฉนั้นอย่ายึดตามเป๊ะๆ เอาเป็นว่ามาแบ่งปันกันดีกว่านะคะ หนึ่งจะมีกฎเวลาลูกป่วยก่อนพาไปหาคุณหมอ คือ ในกรณีมีไข้ ถ้าเข้าวันที่ 3 ไข้ยังไม่ลด หนึ่งจะพาลูกไปหาหมอ ในกรณีที่เป็น stomach bug หรือเด็กท้องเสียอาเจียนนั่นแหละค่ะ ถ้าลูกอาเจียนติดต่อกันเกิน 24 ชั่วโมง เช่น สมมุติว่าลูกเริ่มอาเจียนครั้งแรกตอน 6 โมงเช้า หนึ่งจะนับเวลานั้นไป 24 ชั่วโมงค่ะ อีกข้อคือ แม่ห้ามป่วยตามลูกค่ะ ป่วยได้ตอนลูกใกล้หายแล้วเท่านั้น เป็นแม่ต้องอดทน วิธีดูแลเวลาเด็กมีไข้ เจ็บคอ มีน้ำมูก ร้องงอแง คือ หนึ่งจะไปตามอาการเขาเลยค่ะ มีไข้ ก็วัดไข้ เช็ดตัวโดยใช้น้ำอุ่นๆ หรืออุณหภูมิห้องเช็ดย้อนรูขุมขนขึ้นจากเท้าไล่ขึ้นไป และพยายามเช็ดซ้ำตามข้อพับ ไม่ต้องเช็ดแรงมาก เอากลางๆ หลังจากเช็ดตัว ให้วัดไข้ลูกอีกครั้ง ไข้ควรลดลงมาบ้าง หลังจากนั้นใส่เสื้อผ้าที่ไม่หนา เสื้อยืด และกางเกงขาสั้น ประมานนี้ค่ะ แอร์ในห้องหนึ่งจะตั้งไว้ 24-25

Recent Posts

  • ใบรับรองโสด สำหรับชาวต่างชาติ
  • พาเด็กป่วยเที่ยวกัมพูชา เสียมเรียบ นครวัด 1
  • ชมนิทรรศน์รัตนโกสินทร์กันเถอะค่ะ
  • Snowtown Gateway Eakamai พาเด็ๆไปเล่นหิมะที่ Snowtown กันค่ะ
  • Drawing on the fabric and blow the balloon using vinegar and baking soda

Archives

  • May 2018
  • January 2018
  • August 2017
  • May 2017

Categories

  • ATM
  • Australian Citizen and Passport in Thailand
  • Bangkok
  • Birth in Thailand
  • Cambodia
  • Government
  • Group activities
  • Health and Safety
  • Hua Hin
  • Married Certificate in Thailand
  • Natural Birth
  • NON-O Visa
  • Road trip Brissy to Sydney
  • Thai Driver License
  • Tips: On the plane
  • ถือพาสปอร์ต 2 เล่ม



  • Home
  • Blog
    • Natural Birth
    • Birth in Thailand
    • Health and Safety
  • Dealing with GOV
    • NON-O Visa
    • Marriage Certificate in Thailand
    • Thai Driver License
    • Banking
    • Australian Citizen and Passport in Thailand
  • Homeschool
    • Group activities
  • Family Trip
    • Tips: On the plane
    • Hua Hin
    • Bangkok
    • Road trip Brissy to Sydney
    • Cambodia
  • Cooking Recipes for Family
  • instagram
Copyright 2017 Rodcha | All Rights Reserved
  • Home
  • Blog
    • Natural Birth
    • Birth in Thailand
    • Health and Safety
  • Dealing with GOV
    • NON-O Visa
    • Marriage Certificate in Thailand
    • Thai Driver License
    • Banking
    • Australian Citizen and Passport in Thailand
  • Homeschool
    • Group activities
  • Family Trip
    • Tips: On the plane
    • Hua Hin
    • Bangkok
    • Road trip Brissy to Sydney
    • Cambodia
  • Cooking Recipes for Family
  • instagram

All About My Little One